คนมีต้องรู้ ก่อนขอสินเชื่อรถแลกเงิน
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการเงินก้อนมาเสริมสภาพคล่อง ไม่ว่าจะไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จ่ายค่าเทอมบุตรหลาน ค่ารักษาพยาบาล แหล่งเงินด่วนถูกกฎหมายอย่างการเปลี่ยนรถเป็นเงินถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ หากมีเล่มทะเบียนอยู่ในมือก็สามารถนำไป จำนำเล่มรถ ได้ นอกจากได้รับเงินก้อนในระยะเวลาอันรวดเร็ว ยังเลือกผ่อนชำระได้ตามระยะเวลาที่ต้องการ ใครมีแพลนขอสินเชื่อ จำนำเล่มรถ แต่ไม่รู้ว่าต้องทำยังไง และมีที่ไหนน่าสนใจบ้างมาหาคำตอบกัน
รู้จักการจำนำเล่มทะเบียนรถยนต์ ตัวช่วยสำหรับคนมีรถ
ก่อนอื่นขอพาทุกคนไปทำความรู้จักการจำนำทะเบียนรถหรือรถแลกเงินให้มากขึ้น โดยสินเชื่อจำนำทะเบียนรถก็คือการ จำนำเล่มรถ ที่มีชื่อคุณเป็นผู้ครอบครองไปฝากไว้ที่ธนาคารหรือผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินจนกว่าจะชำระเงินต้นและดอกเบี้ยคืนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญา และระหว่างผ่อนชำระผู้ขอสินเชื่อยังใช้งานรถได้เหมือนเดิม เมื่อพิจารณาพบว่ารถที่นำมาขอสินเชื่อต้องเป็นรถที่ผ่อนหมดแล้วหรือรถปลอดภาระเท่านั้น
โดยข้อดีของการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถประเภทนี้ คือ รู้ผลอนุมัติไว ได้รับเงินโอนเข้าบัญชีทันทีหลังทราบผล แค่มีรถปลอดภาระก็เหมือนมีเงินสดอยู่ในมือ ปัจจุบันการจำนำทะเบียนรถที่ได้รับความนิยมมีทั้งแบบโอนเล่มและไม่โอนเล่ม โดยทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันดังนี้
จำนำเล่มทะเบียนรถแบบโอนเล่ม
เป็นการกู้ยืมเงินที่ผู้ขอสินเชื่อต้องโอนกรรมสิทธิ์รถไปเป็นชื่อธนาคารหรือผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน โดยขั้นตอนการโอนเล่มทะเบียนผู้ขอสินเชื่อต้องไปทำเองที่กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งใกล้บ้าน พร้อมชำระค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการโอนรถทั้งหมด แม้จะมีการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ครอบครองจริง แต่ผู้ขอสินเชื่อยังใช้งานรถคันดังกล่าวได้เหมือนเดิมไม่ต้องจอดทิ้งไว้ที่ผู้ให้บริการสินเชื่อ เมื่อผ่อนชำระเงินคืนครบถึงไปทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์รถคืนเป็นชื่อตนเอง
จำนำเล่มทะเบียนรถแบบไม่โอนเล่ม
คือ การขอสินเชื่อจำนำรถโดยใช้เล่มทะเบียนรถเป็นประกันการกู้ยืมเงิน ไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ไปให้ธนาคารหรือผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ชื่อบนสมุดรถยังเป็นชื่อผู้ขอสินเชื่อเหมือนเดิม นอกจากได้รับเงินสดไปใช้จ่ายตามความต้องการ ยังสามารถนำรถไปใช้งานได้ปกติ เมื่อผ่อนชำระครบถึงได้เล่มทะเบียนคืนกลับไป
โอนเล่มกับไม่โอนเล่มต่างกันยังไง เลือกแบบไหนถึงตอบโจทย์
เพื่อให้ตัดสินใจเลือกวิธี จำนำเล่มรถ ได้คุ้มค่าและตรงใจมากที่สุด มาดูกันว่าสินเชื่อรถแลกเงินโอนเล่มกับไม่โอนเล่มต่างกันยังไง
วงเงินสินเชื่อ
การขอสินเชื่อจำนำทะเบียนรถหรือสินเชื่อรถแลกเงินแบบไม่โอนเล่มอาจได้รับอนุมัติวงเงินที่น้อยกว่า เนื่องจากเป็นการฝากเล่มทะเบียนไว้ที่ผู้ให้บริการสินเชื่อเท่านั้น ต่างจากการสมัครสินเชื่อแบบโอนเล่มที่มีการเปลี่ยนชื่อผู้ครอบครองรถไปเป็นธนาคารหรือผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เป็นผลให้ผู้ให้บริการสินเชื่อมีความมั่นใจเพิ่มขึ้นว่าผู้ขอสินเชื่อจะชำระเงินคืนจนครบ ทำให้ได้รับวงเงินอนุมัติที่สูงกว่า
ขั้นตอนการสมัครต่างกัน
จำนำรถแบบโอนเล่มต้องมีการเดินทางไปโอนกรรมสิทธิ์รถที่กรมกรมขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งใกล้บ้าน ทำให้ต้องเตรียมเอกสารประกอบการสมัครและโอนรถมากกว่าเดิม ขณะที่การขอสินเชื่อแบบไม่โอนเล่ม แค่นำเล่มทะเบียนรถที่ปลอดภาระและเอกสารการสมัครตามที่ผู้ให้บริการสินเชื่อกำหนดไว้ไปยื่น หากคุณสมบัติผ่านและเอกสารครบถ้วนใช้เวลาไม่นานก็ทราบผลอนุมัติ
ระยะเวลาอนุมัติสินเชื่อ
สินเชื่อรถแลกเงินแบบไม่โอนเล่มเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์คนต้องการเงินด่วน เพราะทราบผลอนุมัติไวและรับโอนเงินเข้าบัญชีทันทีเมื่อผ่านการอนุมัติ แค่เอกสารครบ คุณสมบัติผู้สมัครเป็นไปตามเงื่อนไข รู้ผลเร็วภายใน 1 ชั่วโมง ขณะที่สินเชื่อแบบโอนเล่มทะเบียนใช้ระยะเวลาดำเนินการนานกว่า เนื่องจากผู้ขอสินเชื่อต้องไปดำเนินการโอนเล่มทะเบียนให้เรียบร้อยก่อน ถึงไปยื่นใบสมัครขอสินเชื่อได้
ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
สำหรับรถแลกเงินแบบโอนเล่ม ผู้ขอสินเชื่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ครอบครองในเล่มทะเบียนรถเองทั้งหมด ขณะที่สินเชื่อแบบไม่โอนเล่มไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
เมื่อทราบถึงความแตกต่างระหว่างการขอสินเชื่อจำนำทะเบียนรถแบบโอนเล่มกับไม่โอนเล่ม จะเลือกใช้บริการแบบไหนถึงตอบโจทย์คนมีรถปลอดภาระ ให้พิจารณาถึงความต้องใช้เงินก้อนว่าด่วนมากแค่ไหน ถ้าอยากได้เงินมาใช้จ่ายทันทีไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดจำนำเล่มรถ แบบไม่โอนเล่มถือเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุด เพราะไม่ต้องรอผลอนุมัติสินเชื่อนาน แต่กรณีที่ไม่รีบเพราะอยากได้เงินสดมาสำรองไว้ยามฉุกเฉินหรือต่อยอดธุรกิจ การสมัครสินเชื่อแบบโอนเล่มที่ให้วงเงินสูงน่าจะตอบโจทย์มากกว่า
ก่อนไปขอสินเชื่อจำนำเล่มรถควรรู้เรื่องใดบ้าง
ชื่อผู้ขอสินเชื่อกับเจ้าของกรรมสิทธิ์รถต้องเป็นคนเดียวกัน
หนึ่งในปัญหาสำคัญที่คนมีรถปลอดภาระที่ต้องการเปลี่ยนรถเป็นเงินควรรู้ ก็คือชื่อผู้ขอสินเชื่อกับชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในเล่มทะเบียนต้องเป็นบุคคลเดียวกันเท่านั้น ไม่สามารถนำรถที่เป็นของบุคคลอื่นมายื่นขอสินเชื่อได้ เว้นแต่จะพาเจ้าของกรรมสิทธิ์รถตัวจริงมาดำเนินการสมัครสินเชื่อจำนำทะเบียนรถด้วยตัวเอง
ต้องเป็นรถปลอดภาระเท่านั้น
การสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน อย่างการจำนำรถทั้งแบบโอนเล่มและไม่โอนเล่ม ทางธนาคารหรือผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงินได้กำหนดเงื่อนไขไว้ชัดเจนว่า รับเฉพาะรถปลอดภาระหรือรถผ่อนหมดแล้วเท่านั้น ฉะนั้นใครที่รถยังติดผ่อนอยู่ไม่สามารถขอสินเชื่อประเภทนี้ได้ แต่ถ้าต้องการเงินมาเสริมสภาพคล่องจริง ๆ อาจเลือกขอรีไฟแนนซ์รถแทน
คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อและประเภทรถที่รับ
นอกจากมีเล่มทะเบียนรถปลอดภาระมาเป็นประกันการกู้ยืมเงิน คุณสมบัติของผู้สมัครและประเภทรถที่นำมาจำนำก็มีความสำคัญไม่น้อย หากคุณสมบัติหรือประเภทรถไม่ตรงตามเงื่อนไข อาจทำให้ต้องเสียเวลาเตรียมเอกสารใหม่ แถมได้เงินก้อนล่าช้ากว่าเดิม สำหรับผู้ที่สนใจสินเชื่อควรมีคุณสมบัติดังนี้
– สัญชาติไทย อายุ 20 – 65 ปี
– รายได้ขั้นต่ำ 8,000 บาทต่อเดือน (กรณีเจ้าของกิจการ มียอดขายต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท)
– ประสบการณ์ทำงานไม่ต่ำกว่า 4 เดือน (กรณีเจ้าของกิจการต้องดำเนินธุรกิจไม่ต่ำกว่า 6 เดือน)
– มีรถยนต์ รถกระบะ รถตู้เป็นชื่อของตนเอง โดยถือครองเล่มทะเบียนไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
เอกสารที่ใช้สมัครสินเชื่อ
แม้ธนาคารหรือผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงินจะกำหนดเอกสารสมัครสินเชื่อรถแลกเงินไว้ใกล้เคียงกัน แต่กรณีสมัครสินเชื่อ จำนำเล่มรถ มีลิสต์เอกสารที่ต้องตระเตรียมให้พร้อม ดังนี้
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– เอกสารแสดงรายได้ เช่น หนังสือรับรองเงินเดือน หรือสลิปเงินเดือนล่าสุด (ฉบับจริง) หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทวิ 50 หรือเอกสารแสดงการประกอบอาชีพ
– สำเนาเอกสารแสดงรายการเดินบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน
– สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย หรือธนาคารกรุงเทพ
– ทะเบียนรถเล่มจริง และมีชื่อผู้กู้เป็นเจ้าของ
– สำเนากรมธรรม์ประกันภัยตามเงื่อนไข