ลู่วิ่งไฟฟ้า เป็นประเภทของเครื่องออกกำลังกายที่คุ้นตามากที่สุดซึ่งเป็นประเภทที่พบมากในฟิตเนส โดยมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลายและครบครันมากที่สุด สามารถตั้งค่าการใช้งานได้หลายแบบ ส่วนราคาของสินค้าขึ้นอยู่กับประเภทฟังก์ชันและการทำงานของตัวเครื่อง แต่ในปัจจุบันมีการผลิตออกมาในราคาที่สามารถซื้อไว้ใช้งานที่บ้านได้อย่างคุ้มค่า
ลู่วิ่งไฟฟ้าราคาไม่แพง
การวิ่งบนสายพานเป็นการออกกำลังกายในร่มที่ไม่ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ใช้พื้นที่น้อย ใช้พลังงานมาก ช่วยลดน้ำหนักได้ดี การออกกำลังด้วยเครื่องนี้สามารถออกกำลังโดยการเดินเร็วๆ หรืออาจจะวิ่งได้ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของแต่ละคน
เทคนิคการวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้า
1. เริ่มต้นโดยการวอร์มอัพโดยการเดินหรือวิ่งช้า 5-10 นาที ตามด้วยการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ โดยเลือกกล้ามเนื้อที่จะทำการยืดเพื่อเตรียมตัวออกกำลังกาย
2. เริ่มต้นการวิ่ง โดยค่อยๆ เพิ่มความเร็วจนเริ่มหายใจเร็วขึ้นแต่ยังพูดเป็นประโยคได้ แต่ร้องเพลงไม่ได้ ให้คงความเร็วขนาดนั้นไว้ หากเหนื่อยมากก็สามารถลดความเร็วลง
3. ค่อยเพิ่มเวลาจนกระทั่งสามารถวิ่งได้ 30-45 นาที โดยที่อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ช่วงเป้าหมาย
4. ก่อนสิ้นสุดการวิ่งบนลู่วิ่ง ต้องมีการวอร์มดาวน์ด้วย
วิธีการวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้าที่ถูกต้อง
1. ไม่ควรวิ่งลงปลายเท้า เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อหน้าแข้ง กล้ามเนื้อน่อง และเอ็นร้อยหวายอักเสบได้ง่าย เวลาวิ่งจึงควรใช้แรงจากกล้ามเนื้อโคนขา เนื่องจากเป็นกล้ามเนื้อใหญ่ที่แข็งแรงและมีพลังมาก
2. ให้ข้อสะโพกเคลื่อนไหวอย่างอิสระตามจังหวะการก้าวของเท้าโดยการใช้เอวช่วย ไหล่จะโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย
3. การแกว่งแขน ให้แกว่งตามธรรมชาติหากวิ่งเร็วให้งอแขนและแกว่งให้สัมพันธ์กับเท้า
4. ให้วิ่งยาว คือ วิ่งในระยะทางมาก ๆ จนกล้ามเนื้อปวดเมื่อย อาทิตย์ละครั้ง เนื่องจากกล้ามเนื้อจะใช้พลังงานจากไกลโคเจนในการออกกำลังกาย ซึ่งในกรณีที่เราใช้ไกลโคเจนหมดกล้ามเนื้อจะเริ่มสะสมใหม่ และในครั้งใหม่นี้จะสะสมไว้มากกว่าคราวที่ผ่านมา นั่นก็หมายความว่าคราวหน้าเราจะวิ่งได้ไกลขึ้น (คล้ายกับการเล่นกล้ามให้กล้ามเนื้อฉีกขาดเพื่อให้ร่างกายสร้างใหม่และใหญ่กว่าเดิม)
5. วิ่งเร็วสัปดาห์ละ 1 วัน (วิ่งปกติสัปดาห์ละ 2-3 วัน) การวิ่งเร็ว จะทำให้ร่างกายทำงานหนัก ส่งผลให้ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้ต้องหันไปใช้วิธีให้พลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งจะส่งผลให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขยายใหญ่ขึ้น เป็นการป้องกันการเป็นโรคหัวใจแบบธรรมชาติบำบัดได้เป็นอย่างดี
6. เวลาวิ่งให้หายใจโดยใช้กะบังลม เพราะการหายใจที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันนั้น คือการหายใจตื้นและสั้น ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการวิ่ง ดังนั้นจึงต้องใช้กะบังลมเข้าช่วยเพื่อให้หายใจลึกและยาวขึ้น เราสามารถฝึกหายใจโดยใช้กะบังลมได้โดยการนอนหงายเอาหนังสือวางบนหน้าท้อง ถ้าหนังสือขยับขึ้นตอนสูดหายใจเข้าลดลงตอนหายใจออกถือว่าใช้ได้ และควรยืดกล้ามเนื้อ วันละ 2 ครั้ง เพื่อเป็นการคลายกล้ามเนื้อ และลดอาการบาดเจ็บขณะวิ่ง